วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เมฆ และลม

เมฆ (cloud)           
             1. มฆและการเกิดเมฆ
                 
มฆ คือ น้ำในอากาศเบื้องสูงที่อยู่ในสถานะเป็นหยดน้ำและผลึกน้ำแข็ง และอาจมีอนุภาคของของแข็งที่อยู่ในรูปของควันและฝุ่นที่แขวนลอยอยู่ในอากาศรวมอยู่ด้ว
            
2. ชนิดของเมฆ              การสังเกตชนิดของเมฆ                  กลุ่มคำที่ใช้บรรยายลักษณะของเมฆชนิดต่างๆ มีอยู่ 5 กลุ่มคำ คือ                  เซอร์โร(CIRRO)                    เมฆระดับสูง
         
       
อัลโต(ALTO)                          เมฆระดับกลาง
         
       
คิวมูลัส(CUMULUS)              เมฆเป็นก้อนกระจุก
         
       
สเตรตัส(STRATUS)              เมฆเป็นชั้นๆ
         
       
นิมบัส(NUMBUS)                  เมฆที่ก่อให้เกิดฝน

นักอุตุนิยมวิทยาแบ่งเมฆออกเป็น 4 ประเภท คือ            
                1.มฆระดับสูง เป็นเมฆที่พบในระดับความสูง 6,500 เมตรขึ้นไป  ประกอบด้วยผลึกน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ มี 3 ชนิด ได้แก่ เซอร์โรคิวมูลัส  เซอร์รัส  เซอร์โรสเตรตัส
                           
                                       
                                                                                         เมฆคิวมูลัส                            เมฆเซอรัส     

                  
                2. เมฆระดับกลาง ได้แก่  อัลโตสเตรตัส  อัลโตคิวมูลัส
            
3. เมฆระดับต่ำ  ได้แก่  สเตรตัส  สเตรโตคิวมูลัส  นิมโบสเตรตัส
              
4. เมฆซึ่งก่อตัวในทางแนวตั้ง ได้แก่  คิวมูลัส   คิวมูโลนิมบัส
      
 ลม (Wind) คือ มวลของอากาศที่เคลื่อนที่ไปตามแนวราบ
            -  สภาพอากาศเหนือพื้นดินและพื้นน้ำ พื้นดินและพื้นน้ำรับและคายความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้ไม่เท่ากันพื้นดินจะรับและคายความร้อนได้ดีกว่าพื้นน้ำ ในเวลากลางวันอุณหภูมิของพื้นดินจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว พื้นน้ำจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างช้าๆ ทำให้อากาศเหนือพื้นดินมีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศเหนือพื้นน้ำ ส่วนในเวลากลางคืนพื้นดินคายความร้อนได้เร็วกว่าพื้นน้ำ ทำให้อากาศเหนือพื้นดินมีอุณหภูมิต่ำกว่าอากาศเหนือพื้นน้ำ ทำให้เกิดลมขึ้น
             - การเกิดลม  สาเหตุเกิดลม คือ
               1. ความแตกต่างของอุณหภูมิ
             2. ความแตกต่างของหย่อมความกดอากาศ

           หย่อมความกดอากาศ(Pressure areas)               -หย่อมความกดอากาศสูง หมายถึง บริเวณที่มีความกดอากาศสูงกว่าบริเวณข้างเคียง ใช้ตัวอักษร H               -หย่อมความกดอากาศต่ำ หมายถึง บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำกว่าบริเวณข้างเคียง ใช้ตัวอักษร L

   
 แผนที่อากาศ
ชนิดของลม ลมแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ คือ             - ลมประจำปีหรือลมประจำภูมิภาค เช่น ลมสินค้า
             - ลมประจำฤดู เช่น ลมมรสุมฤดูร้อน และลมมรสุมฤดูหนาว
             - ลมประจำเวลา เช่น ลมบก ลมทะเล
             - ลมที่เกิดจากการแปรปรวนหรือลมพายุ เช่น พายุฝนฟ้าคะนอง พายุหมุนเขตร้อน

           
 นักอุตุนิยมวิทยาได้กำหนดการเรียกชื่อประเภทของพายุหมุน โดยใช้ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางเป็นเกณฑ์ ดังนี้
             1. พายุดีเปรสชั่น มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางไม่เกิน  63  กิโลเมตรต่อชั่วโมง  มีผลทำให้เกิดฝนตกหนักทั่วไปในบริเวณที่มีความชื้น
             2. พายุโซนร้อน  มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางไม่เกิน  63 ถึง 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีกำลังแรงกว่าพายุดีเปรสชั่น
             3. พายุใต้ฝุ่น มีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางมากกว่า  118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุมีกำลังแรงและอันตรายมาก และมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันตามบริเวณที่เกิดขึ้น